ภาษา Ruby

8 December 2019

นี่เป็นบทเรียนภาษา Ruby ในบทเรียนนี้ คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมในภาษา Ruby เราจะพูดถึงประวัติ โครงสร้างของภาษา ตัวแปร ตัวดำเนินการ เมธอด การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับออบเจ็คในภาษา Ruby เนื้อหาในบทเรียนจะเป็นการเขียนโปรแกรมแบบ Console application ซึ่งเป็นการรับค่าและแสดงผลผ่านทางข้อความเท่านั้น การสอนในรูปแบบนี้จะเน้นเพื่อให้คุณเข้าใจพื้นฐานของภาษาเป็นหลัก และหลังจากที่คุณเข้าใจมันดีแล้ว คุณจะสามารถนำไปต่อยอดกับการเขียนโปรแกรมแบบ GUI หรือแม้แต่เว็บแอพพลิเคชันได้อย่างไม่ยาก

Ruby คือภาษาเขียนโปรแกรมแบบไดนามิกส์และสามารถปรับแต่งโครงสร้างของมันเองได้ในขณะที่โปรแกรมทำงาน นอกจากนี้ มันยังเป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุมาตั้งแต่กำเนิด (Object-oriented) และเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป มันถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นในช่วงกลางของ 1990s โดย Yukihiro Matsumoto ในประเทศญี่ปุ่น

Yukihiro Matsumoto ผู้สร้างภาษา Ruby

ตามที่ Matsumoto ได้บอกไว้ว่าภาษา Ruby นั้นได้รับอิทธิพลมาจากภาษา Perl, Smalltalk, Eiffel, Ada และ Lisp มันเป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมหลายรูปแบบ ซึ่งประกอบไปด้วยการเขียนโปรแกรมแบบฟังก์ชัน (Functional) การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุและเป็น Imperative นอกจากนี้ ภาษา Ruby ยังมีประเภทข้อมูลเป็นแบบไดนามิกส์และมีระบบการจัดการหน่วยความจำแบบอัตโนมัติ

สำหรับภาษา Ruby ในปัจจุบันนั้นมี Stable release อยู่ที่เวอร์ชัน 2.5 ดังนั้นในบทเรียนนี้ คุณจะได้เรียนเวอร์ชันนี้ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดของภาษา และยังเป็นเวอร์ชันที่ได้รับการสนับสนุนในปัจจุบันและมีคุณสมบัติต่างๆ มากมายซึ่งประกอบไปด้วย การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การสืบทอดคลาส Mixins, Iterators, Closures, Exception handling และ Garbage collection

หลังจากเสร็จสิ้นบทเรียนนี้แล้ว คุณจะรู้จักและเข้าใจพื้นฐานของภาษา Ruby และสามารถเขียนโปรแกรมของคุณเองได้ ซึ่งการเข้าใจในพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้คุณสามารถนำไปต่อยอดสำหรับการเขียนโปรแกรมในระดับที่สูงขึ้น

เนื้อหาในบทเรียน

  1. แนะนำภาษา Ruby
  2. การติดตั้งภาษา Ruby
  3. โครงสร้างของภาษา Ruby
  4. ออบเจ็ค ในภาษา Ruby
  5. ตัวแปรในภาษา Ruby
  6. ตัวแปรและขอบเขตของตัวแปร
  7. ประเภทข้อมูล
  8. การรับค่าและการแสดงผล
  9. ตัวดำเนินการ
  10. คำสั่งควบคุมเงื่อนไข
  11. คำสั่งวนซ้ำ
  12. เมธอด
  13. String
  14. String methods
  15. อาเรย์
  16. Array methods
  17. Hash
  18. Input/output with files
  19. คลาสและออบเจ็ค
  20. การสืบทอดคลาส
  21. Encapsulation
  22. Class (II)
  23. Modules
  24. Exceptions
  25. Threads
บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่? Yes · No