ภาษา JavaScript

2 October 2020

นี่เป็นบทเรียนภาษา JavaScript ในบทเรียนนี้สอนการเขียนโปรแกรมในภาษา JavaScript ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง เราจะเริ่มจากโครงสร้างและไวยากรณ์ของภาษา ตัวแปรและประเภทข้อมูล ไปจนถึงคลาสและออบเจ็ค และในตอนท้ายของบทเรียน คุณจะเข้าใจภาษา JavaScript ในเบื้องต้นและสามารถนำไปต่อยอดการเขียนโปรแกรมขั้นสูงต่อไปได้

ในบทเรียนจะใช้ Node.js สำหรับรันโค้ดตัวอย่าง Node.js เป็นสภาพแวดล้อมการทำงานที่ใช้สำหรับรันโปรแกรมภาษา JavaScript นอกเว็บเบราว์เซอร์ เช่นบน Command-line หรือบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ เนื้อหาในบทเรียนจะเน้นเพียงหลักของภาษา JavaScript ดังนั้นคุณสามารถรันตัวอย่างบน เว็บเบราว์เซอร์ได้หากต้องการ

อย่างไรก็ตามเนื้อหาในบางบทอาจจะเฉพาะบน Node.js เช่น ในบทของการรับค่าจากคีย์บอร์ด ซึ่งเปรียบได้กับการใช้เมธอด prompt บนเว็บบราวเซอร์ แต่สำหรับตัวอย่างโค้ดในบทอื่นๆ ทั้งหมดมันสามารถรันได้ทั้งบน Node.js และบนเว็บบราวเซอร์

JavaScript หรือ JS เป็นภาษาเขียนโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นตามข้อกำหนดของ ECMAScript (หรือ ES) ซึ่งเป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป ถูกกำหนดมาตฐานโดย Ecma International; ภาษา JavaScript เป็นภาษาระดับสูงถูกคอมไพล์ในขณะที่โปรแกรมรัน และเป็นภาษาที่มีรูปแบบการเขียนแบบหลายกระบวนทัศน์ เช่น การเขียนแบบเชิงขั้นตอน การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือแบบ Functional เป็นต้น

จุดเริ่มต้นของภาษา JavaScript นั้นเริ่มมาจากการที่มันถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นภาษาสคริปที่รันบนเว็บเบราวน์เซอร์สำหรับจัดการกับ DOM และทำให้หน้าเว็บเป็นแบบไดนามิกส์ จากความยืดหยุ่นและคุณสมบัติที่โดดเด่นของภาษา ทำให้ทุกวันนี้ JavaScript ได้ถูกนำมาเขียนโปรแกรม Command Line หรือโปรแกรมที่รันอยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์บน Node.js และนี่เป็นวิธีที่เราใช้ในการรันในบทเรียนนี้

เนื้อหาในบทเรียนจะแบ่งออกเป็นหลายบท และแต่ละบทจะมีตัวอย่างพื้นฐานและตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในเรื่องนั้นๆ หลังจากจบบทเรียนนี้แล้วคุณจะเข้าใจพื้นฐานของภาษา และสามารถนำไปต่อยอดเพื่อเขียนโปรแกรมในขั้นสูงได้ต่อไป เช่น ในการเขียนภาษา JavaScript เพื่อจัดการกับหน้าเว็บ ซึ่งคุณจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ DOM และ BOM APIs เป็นต้น

เนื้อหาในบทเรียน

  1. แนะนำภาษา JavaScript
  2. การติดตั้ง Node.js และภาษา JavaScript
  3. โครงสร้างไวยากรณ์ของภาษา
  4. การรับค่าและการแสดงผล
  5. ประเภทข้อมูล
  6. ตัวแปร
  7. ค่าคงที่
  8. ตัวดำเนินการ
  9. ตัวดำเนินการ II
  10. คำสั่งเลือกเงื่อนไข if else
  11. คำสั่งเลือกเงื่อนไข switch case
  12. คำสั่งวนซ้ำ while, do while
  13. คำสั่งวนซ้ำ for loop
  14. ฟังก์ชัน
  15. String
  16. String methods
  17. อาเรย์
  18. Array methods
  19. ออบเจ็ค
  20. คลาสและออบเจ็ค
  21. Inheritances
  22. Encapsulation
  23. Static method and static property
  24. Getter and Setter
  25. Exceptions and Error
  26. Modules
  27. Map
  28. Set
  29. วันที่และเวลา

เนื้อหาเพิ่มเติม

  1. Escape characters
  2. การจัดเรียงข้อมูลในอาเรย์
  3. เมธอด filter, map, reduce
  4. คำสั่งวนซ้ำ for in และ for of
  5. การแปลงประเภทข้อมูล
  6. การตรวจสอบประเภทข้อมูล
  7. ตัวดำเนินการระดับบิต
  8. Arrow function
  9. Callback function
  10. Promise
  11. คำสั่ง async/await
  12. การสุ่มตัวเลข
  13. การจัดรูปแบบการแสดงผลวันที่
บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?Yes·No