บทเรียน Node.js สอนเขียนโปรแกรมบน Node.js

5 April 2021

ในบทเรียนนี้ คุณจะได้ทำความรู้จักกับ Node.js และได้เรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมบน Node.js ด้วยภาษา JavaScript แต่ก่อนเริ่มต้นบทเรียน คุณจำเป็นต้องเข้าใจเกี่ยวกับไวยากรณ์ของ ภาษา JavaScript ก่อน สำหรับรูปแบบของโปรแกรมในบทเรียนจะเป็นการเขียนโปรแกรมแบบ Command line (CLI)

Node.js เป็นสภาพแวดล้อมรันไทม์ที่ใช้สำหรับรันโปรแกรมภาษา JavaScript นอกเว็บเบราวน์เซอร์ Node.js ทำให้เราสามารถเขียนโปรแกรมภาษา JavaScript เพื่อรันบน Command line (CLI) และสามารถนำไปรันเป็น Standard lone โปรแกรมได้ เช่น การพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อนำไปรันบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น

เราจะเริ่มจากการแนะนำให้คุณรู้จักกับ Node.js และการติดตั้งมันลงบนคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อเขียนและรันโปรแกรม จากนั้นพูดถึงโครงสร้างระบบของ Node.js เช่น โมดูล โมดูลมาตฐาน การรับค่าและการแสดงผล เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้่เป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นต้องทราบในการทำงานกับ Node.js

หลังจากสิ้่นสุดบทเรียน เราหวังว่าคุณจะเข้าใจเกี่ยวกับ Node.js และสามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาโปรแกรมของคุณเองได้ คุณสามารถนำ Node.js ไปเขียนโปรแกรมอะไรก็ได้ที่ต้องการ เช่น โปรแกรม Command line อย่างง่าย หรือโปรแกรม GUI บน Desktop เป็นต้น

ในบทเรียนจะครอบคลุมเพียงเนื้อหาพื้นฐานของ Node.js เท่านั้น สำหรับในเนื้อหาขั้นสูงเราอาจมีการพูดถึงแต่อาจไม่ลงรายละเอียด นี่เป็นเนื้อหาในบทเรียน Node.js ที่คุณสามารถเลือกเรียนได้ตามลำดับหรืออ่านในเรื่องที่สนใจได้

เนื้อหาในบทเรียน

  1. ทำความรู้จักกับ Node.js
  2. การติดตั้ง Node.js และเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม
  3. การเขียนโปรแกรมบน Node.js
  4. Node.js Global objects
  5. การแสดงผลออกทางหน้าจอ บน Node.js
  6. การรับค่าจากคีย์บอร์ด บน Node.js
  7. การสร้างและใช้งาน Module
  8. Node Package Manager (NPM)
  9. การใช้งาน NPM สำหรับติดตั้งและจัดการแพ็กเกจ
  10. Node.js Standard Modules
  11. การเขียนข้อมูลลงบนไฟล์
  12. การอ่านข้อมูลจากไฟล์
  13. การคัดลอกไฟล์
  14. การเปลี่ยนชื่อไฟล์และย้ายไฟล์
  15. การลบไฟล์
  16. การสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย Node.js
  17. การใช้งาน lodash ไลบรารี่บน Node.js
  18. การใช้งาน Express.js บน Node.js
  19. Events
  20. การรับค่าแบบ Synchronous บน Node.js
  21. การรับค่าผ่าน Command line อาร์กิวเมนต์

เนื้อหาเพิ่มเติม

  1. ฟังก์ชัน setTimeout
  2. ฟังก์ชัน setInterval
บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?Yes·No