โครงสร้างของภาษา Java
ในบทนี้ คุณจะได้เรียนโครงสร้างพื้นฐานของภาษา Java และรูปแบบต่างๆ ในการใช้งานของภาษา เราจะมาเริ่มต้นกับโปรแกรมสุดคลาสสิค Hello World Program
Hello word program
Hello World Program เป็นโปรแกรมแรกที่โปรแกรมเมอร์ทุกคนจะได้เขียน มันเป็นโปรแกรมที่แสดงข้อความว่า "Hello World!" ออกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ ถ้าคุณสร้างโปรเจ็คของคุณแล้ว ตอนนี้คัดลอกโปรแกรมข้างล่างไปรันได้เลย
// Hello World Program
public class HelloWorld {
public static void main (String[] args) {
System.out.println("Hello World!");
}
}
Note: ในการสร้างคลาส ชื่อไฟล์ของคุณต้องตรงกันกับคลาสในโปรแกรม เช่น ตัวอย่างคลาสมีชื่อว่า
HelloWorld
ไฟล์โปรแกรมของคุณต้องมีชื่อว่าHelloWorld.java
หลังจากที่คุณรันโปรแกรมใน IDE คุณควรจะได้ผลลัพธ์ดังนี้
Hello World!
ต่อไปลองเปลี่ยนข้อความเป็นข้อความใหม่ที่คุณต้องการ เพื่อดูผลลัพธ์ว่ามันน่าทึ่งแค่ไหน และจากตัวอย่างของโปรแกรมข้างบน มันมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
Package: เป็นกลุ่มของคลาสหรือไลบรารี่มาตรฐานของภาษา Java ที่มีฟังก์ชันต่างๆ ให้ใช้มากมาย ในตัวอย่างนั้นไม่มี เราจะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ในภายหลัง
Class: ในส่วนของการประกาศคลาส จะต้องประกาศคลาสให้ชื่อตรงกับไฟล์เสมอ นอกจาก Inner คลาสที่อยู่ในคลาสเดียวกัน โดยชื่อคลาสนั้นควรจะขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ และถ้ามีหลายคำให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่แบ่ง ดังตัวอย่างด้านล่าง
public class ClassName {
...
}
Method: หลังจากคลาสสร้างแล้ว จะเป็นประกาศเมธอดภายในคลาส โดยในการที่จะรันโปรแกรมได้จะต้องมีเมธอดที่ชื่อว่า Main
ดังตัวอย่างในโปรแกรมด้านบน มันเป็นที่แรกที่โปรแกรมจะเริ่มทำงาน
public static void main (String[] args) {
...
}
Statements: เป็นคำสั่งของโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมทำงานตามต้องการ เช่น System.out.println("Hello World!");
เป็นการแสดงผลข้อความออกทางหน้าจอ โดยปกติโปรแกรมมักจะมีหลายคำสั่ง
การใช้ Comment
คอมเมนต์ คือการทำเครื่องหมายสำหรับให้โปรแกรมเมอร์เข้าใจโปรแกรมของพวกเขามากขึ้น หรือป้องกันในกรณีที่อาจจะเกิดการลืมได้ การคอมเมนต์นั้นจะเป็นคำสั่งที่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม และคอมไพเลอร์จะเพิกเฉยต่อคอมเม้นต์ มันใช้สำหรับมนุษย์เท่านั้น นอกจากนี้คอมเมนต์ยังมีประโยชน์มากในกรณีที่โค้ดโปรแกรมมีจำนวนมาก ข้างล่างเป็นตัวอย่างการคอมเม้นต์ในภาษา Java
// Single line comment
/* Multiline comment1
Multiline comment2 */
การคอมเม้นต์มีสองแบบคือ Single line และ Multiline โดยแบบ Single line ใช้เครื่องหมาย //
และตามสิ่งที่ต้องการคอมเม้นต์ และสำหรับการคอมเม้นต์แบบหลายบรรทัดใช้เครื่องหมาย /*
ตามด้วยคอมเม้นต์ และสิ้นสุดที่ */
Semicolon
ทุกคำสั่งการทำงานของโปรแกรมในภาษา Java จะจบด้วยเครื่องหมาย Semicolon (;
) นั่นหมายความว่าคุณสามารถเขียนโปรแกรมแบบไหนก็ได้ โดยคอมไพเลอร์จะทราบอัตโนมัติว่าสิ้นสุดคำสั่งที่ไหน เช่น
int a = 1;
int b = 2; int c = 3;
System.out.println(
a + b + b
);
แต่เราขอแนะนำให้คุณเขียนคำสั่งละ 1 บรรทัด เพราะมันเป็นวิธีที่ดี และทำให้โค้ดของคุณอ่านง่ายและเป็นระเบียบ
White space
ในภาษา Java คุณสามารถใช้ White space ได้อย่างอิสระตามที่คุณต้องการ โดย White space จะประกอบไปด้วย Space bar Tab และ Enter (return) เพราะว่าคอมไพเลอร์ตรวจการสิ้นสุดของคำสั่งด้วย ; ใช้ while space ทำให้โค้ดอ่านเข้าใจง่าย และเป็นระเบียบ ตัวอย่าง
int x = 1;
int y=2;
int z =
3;
จากตัวอย่างนั้นเป็นการประกาศตัวแปรที่ถูกต้อง แต่เราแนะนำแบบตัวแปร x ต่อไปให้คุณสังเกตุการใช้งาน while space ที่ดีในตัวอย่างในบทต่อๆ ไป
Literals
Literals คือค่าของข้อมูลใดๆ ที่กำหนดให้กับตัวแปรได้ เราเรียกมันว่า Constant Literals ทุกค่าที่เป็นไปได้ เช่น "MarcusCode"
เป็น String Literals 10
เป็น Integer Literals หรือ true
เป็น Boolean Literals โดย Literals เป็นได้แค่ Primitive data type เท่านั้น ตัวอย่างการกำหนดค่าหรือ Literals ให้กับตัวแปร
int age = 18;
String name = "Marcus";
float pi = 3.14f;
double money = 45.2;
Expressions
Expression เป็นการกระทำระหว่างตัวแปรกับตัวดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ใหม่ เช่น 4 + 3
เป็น expression ของการบวกเลขและได้ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 7 หรือ 1 == 1
เป็น expression ของการเปรียบเทียบระหว่างค่าสองค่าว่าเท่ากันหรือไม่ และได้ผลลัพธืเป็น true คุณจะได้เรียนเกี่ยวกับตัวดำเนินการในบทต่อไป
Keywords in Java
Keyword คือคำที่สงวนไว้ในภาษา Java นั่นหมายความว่าคุณไม่สามารถนำคำเหล่านี้ไปประกาศเป็นชื่อตัวแปร เมธอด หรือว่าคลาสได้ เพราะว่า Keyword ถูกใช้โดยคอมไพเลอร์เพื่อให้มันทำงานได้สมบูรณ์ ข้างล่างนี้เป็นลิสต์ของ Keyword ในภาษา Java
Keywords list in Java
abstract | continue | for | new | switch |
assert | default | goto | package | synchronized |
boolean | do | if | private | this |
break | double | implements | protected | throw |
byte | else | import | public | throws |
case | enum | instanceof | return | transient |
catch | extends | int | short | try |
char | final | interface | static | void |
class | finally | long | strictfp | volatile |
const | float | native | super | while |
ในบทนี้ คุณได้เรียนรู้โครงสร้างภาษา Java พื้นฐานที่สำคัญที่จะต้องนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมต่อไป