อินพุต เอาต์พุต พื้นฐาน
ในการเขียนโปรแกรม สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือโปรแกรมต้องมีการติดต่อกับผู้ใช้ โดยพื้นฐานแล้วเป็นการแสดงผลลัพธ์ของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า output โดยทั่วไปมักจะเป็นหน้าจอของคอมพิวเตอร์ และอีกอย่างหนึ่งคือการให้ข้อมูลกับโปรแกรม เรียกว่า input โดยปกติจะเป็นทางคีย์บอร์ด อย่างไรก็ตามมันสามารถเกิดขึ้นได้โดยวิธีอื่นๆ เช่น โหลดจากไฟล์ เสียง หรือนำเข้าจากกล้องถ่ายภาพ เป็นต้น สำหรับบทเรียนนี้เราจะพูดบนพื้นฐานการทำงานกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น
ในบทเรียนนี้ เราจะแนะนำให้คุณได้รู้จักกับวิธีที่ใช้กันบ่อยๆ กับ console โปรแกรม
การแสดงข้อความกับเมธอด Write() และ WriteLine()
คุณจะเห็นว่าเราได้ใช้เมธอดนี้ไปแล้วในบทก่อนหน้า เมธอด Write()
และ WriteLine()
นั้นมาจากไลบรารี่มาตฐานของภาษา C# ซึ่งอยู่ในคลาส Console
ข้อแตกต่างของมันคือ เมธอด WriteLine()
นั้นจะเพิ่มการขึ้นบรรทัดใหม่เข้าไปเพื่อคุณใส่ตัวอักษรเข้าไปในเมธอด ในขณะที่เมธอด Write()
นั้นจะไม่ทำ มาดูตัวอย่าง
using System;
class BasicInputOutput1
{
static void Main(string[] args)
{
Console.Write("Hello Java");
Console.WriteLine("Hello C#");
Console.Write("Hello C++");
}
}
มาดูตัวอย่าง เมื่อโปรแกรมได้ถูกรัน
Hello JavaHello C#
Hello C++
จากตัวอย่างด้านบนนั้น คุณจะสังเกตุเห็นว่าหลังจากคำว่า "Hello C#" โปรแกรมจะขึ้นบรรทัดใหม่ นั่นเป็นผลลัพธ์ของเมธอด WriteLine()
นั่นเอง ในภาษา C# คุณสามารถใช้ตัวอักษรพิเศษ \n
เพื่อแสดงผลลัพธ์ของการขึ้นบรรทัดใหม่
Console.Write("Hello C#\n");
Console.WriteLine("Hello C#");
จากตัวอย่างด้านบน ทั้งของบรรทัดของโปรแกรมนั้นให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน
เมธอด Write() และ WriteLine() กับตัวแปร
เหมือนในภาษาอื่นๆ ภาษา C# สามารถแสดงตัวอักษรร่วมกับตัวแปรและค่าคงที่ได้ สำหรับเมธอด Write()
และ WriteLine()
นั้นจะเป็นการใส่พารามิเตอร์มากกว่า 2 ตัวขึ้นไป จะจัดรูปแบบการแสดงผลในพารามิเตอร์ตัวแรก มาดูตัวอย่างการใช้งานของทั้งสองเมธอด
using System;
class BasicInputOutput2
{
static void Main(string[] args)
{
String name = "Marcus";
String music = "Trip hop";
String movie = "science";
Console.WriteLine("My name is {0}.", name);
Console.WriteLine("{0} is my favorite music style and {1} is movie style.", music, movie);
}
}
ในตัวอย่าง เราได้แสดงผลชื่อจากตัวแปร name
นั่นหมายความว่าข้อความจะเปลี่ยนไปตามค่าของตัวแปร โดยเราได้ใส่อากิวเมนต์ตัวที่สองในเมธอด WriteLine()
คือตัวแปร name
และหลังจากนั้นเราจะต้องทำการจัดรูปแบบการแสดงผลที่อากิวเมนต์แรกที่คุณจะเห็น {
และ }
เพื่อให้สอดคล้องกับลำดับของตัวแปรที่ใส่เข้ามาในเมธอด
และนี่เป็นผลลัพธ์ของโปรแกรม
My name is Marcus.
Trip hop is my favorite music style and science is movie style.
และในภาษา C# ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่คุณสามารถใช้ได้คือการต่อ string หรือเราเรียกว่า String concatenating โดยการใช้เครื่องหมาย +
เพื่อต่อข้อความเข้าด้วยกัน และคุณได้เห็นเราได้ใช้ในบทก่อนหน้านี้แล้ว
using System;
class BasicInputOutput3
{
static void Main(string[] args)
{
String name = "Marcus";
String music = "Trip hop";
String movie = "science";
Console.WriteLine("My name is " + name + ".");
Console.WriteLine(music + " is my favorite music style and " + movie+ " is movie style.");
}
}
ทั้งสองวิธีนั้นให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน แต่จะมีข้อควรระวังคือการใช้เครื่องหมาย Concatenating นั้นจะทำให้เกิดการแปลงตัวเลขเป็น String และให้คุณเลือกใช้มันอย่างเหมาะสม
Console.WriteLine("Number is " + 3 + 4); // Number is 34
Console.WriteLine("Number is " + (3 + 4)); // Number is 7
จากตัวอย่างนั้นจะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เพราะว่าการใช้เครื่องหมาย Concatenate กับ String นั้นจะทำให้ตัวเลขถูกแปลงไปเป็นสตริงอัตโนมัติ คุณต้องกำหนดความสำคัญให้กับตัวเลขก่อนโดยการใส่วงเล็บดังตัวอย่างด้านบน
การอ่านค่าด้วยเมธอด Read() และ ReadLine()
ในภาษา C# ได้มีเมธอดอำนวยความสะดวกสำหรับการอ่านค่านำเข้าจาก Input Stream เช่น คีย์บอร์ด โดยส่วนมากเรามักจะใช้เมธอด ReadLine()
การใช้เมธอด Read()
เมธอด Read()
ใช้เพื่อผ่านตัวอักษรตัวต่อไปจาก input steam โดยเมธอดจะส่งค่า integer ของตัวอักษรกลับมา โดยมันมีรูปแบบการใช้งานดังนี้
int variable = Console.Read();
Note: เมธอดนี้ใช้เพื่อรับค่าเพียงแค่หนึ่งตัวอักษรจากคีย์บอร์ดเท่านั้น ถ้าค่าอินพุตท์ของคุณมากกว่า มันจะตัดทิ้งไปเก็บไว้ใน input buffer
Console.WriteLine(Console.Read());
Console.WriteLine(Console.Read());
Console.WriteLine(Console.Read());
จากตัวอย่างด้านบน ให้อินพุตท์จากคีย์บอร์ดเป็น "abcd" ผลลัพธ์คือเมธอดจะส่งค่าเป็น integer กลับมาและแสดงบนแต่ละบรรทัด และตัวอักษรตัวสุดท้ายนั้นจะไม่ถูกแสดงเพราะเราได้เรียกเมธอด Read()
เพียง 3 ครั้ง และมันจะนำไปเก็บตัวอักษร d
ไว้ใน input buffer เมื่อมันเจอเมธอด Read()
อีกครั้ง มันจะนำตัวอักษรที่ถูกเก็บออกมาให้กับเมธอดอัตโนมัติ
abcd
97
98
99
การใช้เมธอด ReadLine()
วิธีการรับค่าในภาษา C# ที่สะดวกที่สุดคือการใช้เมธอด ReadLine()
เพื่ออ่านค่าจากคีย์บอร์ด มันสามารถใช้อ่าน string, integer, float, double เป็นต้น โดยเมธอดจะ return ค่ากลับมาเป็นสตริง ในการที่คุณต้องการอ่านค่าที่เป็นตัวเลข เราจำเป็นต้องใช้เมธอดในการแปลงสตริงให้เป็นตัวเลขก่อน
using System;
class BasicInputOutput
{
static void Main(string[] args)
{
String name;
int age;
double height;
name = Console.ReadLine();
int.TryParse(Console.ReadLine(), out age);
double.TryParse(Console.ReadLine(), out height);
Console.WriteLine("Name: {0}", name);
Console.WriteLine("Age: {0}", age);
Console.WriteLine("Height: {0}", height);
}
}
ในตัวอย่าง เรามีตัวแปร 3 ตัวและได้รับค่าให้กับมันโดยการเรียกใช้เมธอด ReadLine()
เนื่องจากเมธอดนั้น return ค่าเป็น string สำหรับตัวเลขนั้นเราจำเป็นต้องใช้เมธอด TryParse()
เพื่อแปลงไปเป็นประเภทข้อมูลที่ต้องการ เช่น int.TryParse()
จะแปลงข้อมูลไปเป็น integer
James
25
7.1
Name: James
Age: 25
Height: 7.1
และนี่เป็นตัวอย่างทั้งการรับค่าและแสดงผลออกทางหน้าจอ
ในบทนี้ คุณได้เรียนรู้ในการรับและการแสดงค่าในภาษา C# ในพื้นฐาน โดยการใช้เมธอดจากไลบรารี่มาตรฐาน