โครงสร้างของภาษา Visual Basic
ในการเขียนโปรแกรมในภาษาต่างๆ ทุกคนจะได้เขียนโปรแกรมที่ชื่อว่า "Hello Word" ซึ่งเป็นการแสดงข้อความ Hello Word ออกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ มันเป็นโปรแกรมที่ง่ายและพื้นฐานที่สุด เช่นเดียวกัน ในบทเรียนภาษา Visual Basic นี้เราจะให้คุณเห็นมัน
Module Module1
Sub Main()
Console.WriteLine("Hello Visual Basic!!!")
End Sub
End Module
ข้างบนเป็นตัวอย่างของโปรแกรม Hello Visual Basic เพื่อให้สอดคล้องกับบทเรียนของเรา มันแสดงข้อความ "Hello Visual Basic!!!" ออกทางหน้าจอ
Hello Visual Basic!!!
และนี่เป็นผลลัพธฺ์ของโปรแกรมเมื่อเราได้กดปุ่มรัน คุณสามารถกด Ctrl+F5 เพื่อรันโปรแกรม ต่อไปเราจะอธิบายส่วนต่างๆ ของโปรแกรมดังกล่าว
Info: บทเรียน Visual Basic นี้เป็นแบบ Console programming ดังนั้นการรันโปรแกรม Console จะหายไปในทันทีหลังจากที่มันทำงานเสร็จสิ้น คุณสามารถกดรันโดยปุ่ม Ctrl+F5 หรือใช้คำสั่ง
Console.ReadKey()
ในบรรทัดสุดท้ายของฟังก์ชันMain()
เพื่อไม่ให้ Console หายไปในทันที
Module
Module (โมดูล) เป็นข้อมูลแบบ reference type ที่ใช้สำหรับห่อหุ้มออบเจ็ค ตัวแปร หรือเมธอด ข้อมูลภายในโมดูลสามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะจากภายนอก
Module Module1
...
End Module
ในตัวอย่างเรามี Module ที่ชื่อว่า Module1
ซึ่งจะจบด้วยคำสั่ง End Module
ซึ่งหมายถึงบล็อคคำสั่งของ Module
Function procedure
Function procedure เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมเพื่อรวบรวมโค้ดให้ทำงานหนึ่งๆ ให้สำเร็จ ในภาษา Visual Basic จะมีฟังก์ชัน 2 แบบคือ Sub
และ Function
ซึ่งสิ่งที่แตกต่างกันคือ Sub จะไม่มีการ return ค่ากลับ ส่วน Function นั้นจะมี
ในภาษา Visual Basic มี default ฟังก์ชันที่ชื่อว่า Main
ซึ่งเป็นฟังก์ชันแรกในการเริ่มทำงานของโปรแกรม
Sub Main()
Console.WriteLine("Hello Visual Basic!!!")
End Sub
จากในตัวอย่างโปรแกรม Hello Visual Basic ของเรา นี่เป็นฟังก์ชัน Main ที่เป็นแบบ Sub ที่ไม่มีการ return ค่ากลับ
Function Main() As Integer
Console.WriteLine("Hello Visual Basic!!!")
Return 0
End Function
และนี่เป็นตัวอย่างของฟังก์ชันที่มีการส่งค่ากลับ โดยจะใช้คำสั่ง Function
และจบด้วยคำสั่ง End Function
แทน เราจะพูดเกี่ยวกับฟังก์ชันในภายหลังของบทเรียนนี้
Statement
Statement คือคำสั่งการทำงานของโปรแกรม ซึ่งโปรแกรมจะทำงานเริ่มต้นจากฟังก์ชัน Main
statement ในภาษา Visual ฺBasic นั้นจะแบ่งแยกด้วยการขึ้นบรรทัดใหม่
Console.WriteLine("Hello Visual Basic!!!")
นี่เป็นคำสั่งสำหรับแสดงผลข้อความออกทางหน้าจอ โดยโปรแกรมจะแสดงข้อความ "Hello Visual Basic!!!" ออกทางจอคอมพิวเตอร์ของคุณ
Classes
คลาส เป็นประเภทข้อมูลแบบ reference type เหมือนกับ Module แต่สำหรับคลาสนั้นสามารถนำไปสร้างออบเจ็คได้ อย่างไรก็ตามคุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคลาสในเรื่องการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP) ในภายหลังของบทเรียน Visual Basic นี้ ในการเขียนโปรแกรมภาษา Visual Basic คุณสามารถใช้คลาสแทน Module ได้ เช่น
Class Program
Sub Main()
Console.WriteLine("Hello Visual Basic!!!")
End Sub
End Class
ในตัวอย่าง เราได้ใช้คลาสแทนการใช้โมดูล ในการสร้างโปรแกรมซึ่งได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามในตอนแรกเราจะใช้โมดูล สำหรับการรเริ่มต้นของการรันโปรแกรม
Comment
คอมเม้นต์ ใช้สำหรับโปรแกรมเมอร์ในการการอธิบายโปรแกรม คอมเม้นต์จะถูกเพิกเฉยจากคอมไพเลอร์และไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม ในภาษา Visual Basic คุณสามารถคอมเม้นต์โค้ดได้สองวิธีคือ ใช้คำสัง REM
หรือใช้เครื่องหมาย '
แล้วตามด้วยข้อความที่ต้องการคอมเม้นต์ ข้างล่างเป็นตัวอย่างการคอมเม้นต์โค้ดในภาษา Visual ฺBasic
REM Greet program
Module Module1
' The Main function is where the program start
Sub Main()
' Say greeting
Console.WriteLine("Hi Marcus.")
End Sub
End Module
คอมเม้นต์มีประโยชน์ในการใช้อธิบายและเตือนความจำว่าโค้ดหรือส่วนของโปรแกรมนี้ใช้ทำอะไร ในกรณีที่โค้ดมีจำนวนมาก และการพัฒนาแอพพลิเคชันขนาดใหญ่และเป็นทีมร่วมกับคนอื่น
Literals
Literals คือข้อความหรือตัวอักษรใดๆ ที่สามารถกำหนดเป็นค่าของข้อมูลประเภทต่างได้ ยกตัวอย่างเช่น 10
เป็น literal ของจำนวนเต็ม 1.23
เป็น literal ของจำนวนจริง หรือ "Hello Word"
เป็น literal ของ string เป็นต้น ข้างล่างเป็นตัวอย่างในการใช้ literal แบบต่างๆ
' Literals assign values to variable
Dim number As Integer = 10
Dim name As String = "Marcus"
' Literals that pass as function argument
Console.WriteLine("Hello Word!")
' Compare two literals with If statement
If 10 = 2 + 8 Then
' numbers are equal
End If
Keywords
Keyword คือคำหรือกลุ่มคำที่สงวนไว้ในภาษา Visual Basic เพื่อใช้สำหรับคอมไพลเลอร์ในการประมวลผลโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น นั่นหมายความว่าคุณไม่สามารถใช้ keyword ในการนำไปประกาศชื่อตัวแปร ประกาศชื่อฟังก์ชัน คลาส เมธอด และอื่นๆ ที่ถูกกำหนดโดยผู้ใช้ได้ ตัวอย่าง keyword ในภาษา Visual Basic เช่น Integer
Dim
Class
Sub
And
Or
If
For
หรือ End
เป็นต้น
ในบทนี้ คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมในภาษา Visual Basic ซึ่งจะต้องได้ใช้ในบทต่อๆ ไปของบทเรียนนี้