โครงสร้างของภาษา PHP

10 December 2016

ในบทนี้ คุณจะได้เรียนรู้โครงสร้างที่จำเป็นที่คุณต้องต้องทราบในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา PHP รูปแบบและกฏเกณฑ์ต่างๆ ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา PHP มาเริ่มต้นกับโปรแกรมที่พื้นฐานที่สุดสำหรับการเรียนเขียนโปรแกรม

Simple program

โปรแกรมแรกที่คุณจะได้เห็นในภาษา PHP จะเป็นโปรแกรมในการแสดงผลข้อความ "Hello World!" ออกทางหน้าจอ

<?php

echo "Hello World!";

?>

ในตัวอย่างเป็นโปรแกรมแสดงข้อความออกทางหน้าจอ คุณสามารถลองเปลี่ยนเป็นข้อความที่คุณต้องการได้เพื่อดูผลลัพธ์ของมัน

ในการเขียนโปรแกรมภาษา PHP โค้ดของโปรแกรมจะต้องอยู่ภายในบล็อคคำสั่ง <?php และ ?>

เพื่อรันโปรแกรมสำหรับบน Windows เปิด Command line ขึ้นมาแล้วพิมพ์คำสั่ง php c:\project\hello.php ซึ่งเราได้ใช้คำสั่ง php ที่ได้จากการติดตั้งไปแล้วในบทก่อนหน้า และตามด้วยที่อยู่ของไฟล์ที่สคริปของ PHP อยู่

Comment

คอมเม้นต์ คือส่วนของซอสโค้ดที่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม มันใช้สำหรับการอธิบายโปรแกรมเพื่อให้ผู้เขียนเข้าใจหรือสามารถอ่านโค้ดในภายหลังได้ง่ายขึ้น การคอมเม้นต์โค้ดมีประโยชน์มากในการทำงานเป็นทีมเพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าใจโค้ดของเรา

ในภาษา PHP คุณสามารถเขียนคอมเม้นต์ได้หลายรูปแบบ

<?php

# This is my frist program in PHP
echo "Hello PHP language!\n";

# Displaying the site name and year
echo "Marcuscode.com\n";
echo "2016"

?>

นี่เป็นการคอมเม้นต์ในภาษา PHP เราใช้เครื่องหมาย # แล้วตามด้วยข้อความที่ต้องการคอมเม้นต์ และคำสั่งคอมเม้นต์สิ้นสุดด้วยการขึ้นบรรทัดใหม่ และในภาษา PHP เรายังสามารถคอมเม้นต์ในรูปแบบของภาษา C ได้

<?php

// This is my first program
echo "Hello PHP language.\n";

/*
This is multiple lines comment
in PHP language using C style
*/
echo "Welcome to Marcuscode.com\n";

?>

ต่อมาเป็นกาคอมเม้นต์ใน C style ที่เราทำได้ในภาษา PHP ซึ่งจะมีสองแบบคือ การคอมเม้นต์บรรทัดเดียว ข้อความที่ต้องการคอมเม้นต์จะอยู่หลัง // และการคอมเนต์แบบบล็อคหรือหลายบรรทัด ข้อความจะอยู่ระหว่าง /* และ */

เมื่อคุณได้คอมเม้นต์โค้ดที่เขียนขึ้น มันจะถูกเพิกเฉยโดย PHP interpreter หรือทำให้มีความหมายและเข้าใจได้มากขึ้นถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปแล้วคุณกลับมาดูหรือแก้ไขอีกครั้ง

Semicolon

ในภาษา PHP เราใช้เครื่องหมาย semicolon ; ในการจบคำสั่งการทำงานของแต่ละคำสั่ง เช่นเดียวกับกับภาษา C หรือ C++

<?php

// Initializing variables
$a = 1;
$b = 2; $c = 3;

// Display the summation of these variables
echo "a + b + c = ", $a + $b + $c;

?>

ในตัวอย่างจะเห็นว่าเราจะใส่ ; เมื่อสิ้นสุดคำสั่งแต่ละคำสั่ง ซึ่ง PHP interpreter นั้นจะตรวจสอบการสิ้นสุดคำสั่งด้วยเครื่องหมายดังกล่าว ดังนั้นเราสามารถเขียนคำสั่งหลายคำสั่งในบรรทัดเดียวกันได้

While space

While space คือช่องว่างระหว่างคำสั่งที่แทรกระหว่างส่วนของโค้ดออกจากกันเพื่อให้เกิดเป็นจำสั่งขึ้น จำนวนของ White space ที่ต่อเนื่องกันเป็นจำนวนมากนั้นไม่มีผลในภาษา PHP

<?php

$name = "PHP";
$name="PHP";
$name= "PHP" ;

?>

เราใช้ While space เพื่อทำให้โปรแกรมของเราอ่านและเข้าใจง่ายขึ้น ข้างล่างเป็นตัวอย่างการใช้ While space ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ถึงแม้ผลลัพธ์ของโปรแกรมจะเหมือนกัน แต่แบบแรกจะทำให้โค้ดของเราอ่านง่ายกว่า

<?php

if ($name == "PHP") {
    echo "You are PHP";
}

if($name=="PHP"){
echo "You are PHP";
}

?>

Literals

Literals คือค่าคงที่ใดๆ ภายในโค้ดของโปรแกรม ซึ่งค่าเหล่านี้จะใช้สำหรับกำหนดให้กับตัวแปรหรือค่าคงที่ ในภาษา PHP นั้นมี Literals ประเภทต่างๆ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ และ Boolean เป็นต้น

$day = 1;
$month = "December";
$weight = 67.3;
$meter = 10e3;
$loaded = true;

ในตัวอย่างเราได้กำหนดค่า Literal ประเภทต่างๆ ให้กับตัวแปร โดย 1, 67.3 และ 10e3 เป็น Literal ของตัวเลข "December" เป็นของข้อความหรือสตริง และ true เป็นของ Boolean

Expressions

Expressions คือนิพจน์ของตัวดำเนินการ (operator) และตัวถูกดำเนินการ (operand) ที่กระทำกันต่อในรูปแบบของสมการและทำให้เกิดค่าใหม่ขึ้นมา ในการเขียนโปรแกรมตัวถูกดำเนินการก็คือตัวแปรที่เมื่อทำงานกับตัวดำเนินการประเภทต่างๆ แล้วจะได้ผลลัพธ์ใหม่เกิดขึ้น

<?php

$a = 2;
$b = 3 + 5;
$c = $a - $b;
$d = ($a * $a) + ($b * $b);
$e = !(1 == 1);
$f = (true && true);

?>

ในการเขียนโปรแกรมนั้น Expression จะทำให้ได้ค่าใหม่เกิดขึ้น ซึ่ง Operator และ Operand สามารถมีได้ตั้งแต่หนึงถึงหลายตัวในหนึ่ง Expression และซ้อนกันได้ ซึ่งในตัวอย่างทางด้านขวาของเครื่องหมายกำหนดค่า = คือ Expression ที่เราสร้างขึ้นซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันขึ้นกับ Operator และค่าของ Operand ที่กระทำต่อกัน

การแสดงผลทางหน้าจอ

การแสดงผลในภาษา PHP นั้นมักจะใช้คำสั่ง echo และ print สำหรับจัดการและเชื่อมต่อกับ Output stream ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะเป็นจอภาพหรือ Console มาดูตัวอย่างการแสดงผลในเบื้องต้น

<?php

echo "This text printed using echo.\n";
print "This text printed using print.\n";

?>

ในตัวอย่างเป็นการแสดงข้อความโดยการใช้คำสั่ง echo และ print ในภาษา PHP คุณจะได้เรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานในภายหลัง

Keywords

Keywords คือกลุ่มของคำหรือคำสั่งที่สงวนไว้ในภาษา PHP สำหรับการทำงานของ Interpreter ซึงคุณจะไม่สามารถนำคำสั่งเหล่านี้ใช้งานในบางอย่างของโปรแกรมได้ เช่น การตั้งชื่อตัวแปร ฟังก์ชัน คลาส เมธอด และอื่นๆ ที่ผู้ใช้กำหนดขึ้น ข้างล่างนี้เป็นรายการ Keyword ในภาษา PHP

abstractandarrayas
breakcallablecasecatch
classcloneconstcontinue
declaredefaultdiedo
echoelseelseifempty
enddeclareendforendforeachendif
endswitchendwhileevalexit
extendsfinalforforeach
functionglobalgotoif
implementsincludeinclude_onceinstanceof
insteadofinterfaceissetlist
namespaceneworprint
privateprotectedpublicrequire
require_oncereturnstaticswitch
throwtraittryunset
usevarwhilexor

PHP embedded in HTML

PHP นั้นเป็นภาษาสคริป ดังนั้นมันจึงสามารถเขียนแทรกับเอกสารรูปแบบอื่นๆ ได้ซึ่งโดยส่วนมากแล้วมักจะนิยมเขียนกับ HTML เพื่อสร้างหน้าเว็บเพจแบบไดนามิกส์

<!doctype html>
<html>
<head>
<meta charset="utf-8">
<title>Marcuscode.com</title>
</head>
<body>
<?php
echo "<h1>This text is generated by PHP</h1>";
?>
</body>
</html>

ในตัวอย่างเป็นไฟล์ในรูปแบบ HTML ซึ่งเราได้ทำการแทรกสคริปของภาษา PHP ในระหว่าง <?php และ ?> อย่างไรก็ตามนามสกุลของไฟล์นั้นต้องเป็น .php เสมอ

นอกจากนี้แล้วภาษา PHP ยังสามารถใช้สร้างข้อมูลรูปแบบอื่นได้ โดยการกำหนด header content type ให้กับเอกสารนั้น เช่น JSON XML JavaScript หรือ CSS เป็นต้น กล่าวโดยสรุป PHP นั้นอำนวยความสะดวกในการสร้างเนื้อของของเว็บไซต์แบบไดนามิกส์ได้ ซึ่งจะทำให้การเขียนโปรแกรมยืดหยุ่นและง่ายมากขึ้น

PHP in Console

สำหรับในบทเรียนของเรา เราเขียน PHP บน Console ดังนั้นอาจจะมีบางอย่างที่แตกต่างจากเว็บ เช่น การแสดงผลข้อความขึ้นบรรทัดใหม่ เราจะได้ \n ในขณะที่ในเว็บนั้นจะเป็น ซึ่งเป็น Tag คำสั่งใน HTML

ในบทนี้ คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของภาษา PHP รวมถึงการทำงานของ PHP ร่วมกับประเภทข้อมูลอื่นๆ

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?Yes·No